27 มีนาคม 2567
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดงาน "BETTER THAILAND การปฏิรูปอุดมศึกษา เพื่ออนาคตประเทศไทย" โดยมี น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.กระทรวง อว. เป็นประธานเปิดงาน และบรรยายพิเศษหัวข้อ "การปฏฺิรูปอุดมศึกษา เพื่ออนาคตประเทศไทย" พร้อมมีนายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวง อว. น.ส.สุชาดา แทนทรัพย์ เลขานุการ รมว.กระทรวง อว. ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวง อว. นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผอ.กองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวง อว. และผู้บริหารเข้าร่วม ณ โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพ ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2567
ซึ่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัล สถาบันอุดมศึกษากลุ่มพัฒนาการวิจัย ระดับแนวหน้าของโลก ประจำปี พ.ศ. 2566 ได้แก่
1. รางวัลดีเด่น ด้านการสร้างและพัฒนาระบบนิเวศด้านการวิจัย
2. รางวัลชมเชย ด้านการสร้างกำลังคนด้านการวิจัยของประเทศ
3. รางวัลชมเชย ด้านการวิจัยที่มีคุณภาพระดับสากลและสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้
โดย สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประกาศผลการพิจารณาสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก ประจำปี พ.ศ.2566 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2567 เพื่อยกย่องและตระหนักในคุณค่าของผลงาน ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างกำลังคนด้านการวิจัยของประเทศ และพัฒนานวัตกรรมจากผลงานวิจัยและองค์ความรู้ขั้นสูง อันจะนำไปสู่การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพื่อเป็นการกระตุ้นและผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษา เห็นความสำคัญและมุ่งเน้นการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยที่มีคุณภาพระดับสากลและสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้ และเพื่อเป็นการประเมินระดับความสำเร็จของผลงานสถาบันอุดมศึกษาในการสร้างและพัฒนาระบบนิเวศด้านการวิจัย เพื่อส่งเสริมให้เกิดการวิจัยระดับแนวหน้าของโลกดีเด่น อันจะสามารถนำผลที่ได้มาใช้ในการขับเคลื่อน การปรับปรุงแนวทาง และการดำเนินงานตามนโยบาย โดยมีผลการพิจารณา ดังนี้
ด้านที่ 1 การสร้างกำลังคนด้านการวิจัยของประเทศ
รางวัลดีเด่น มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ผลงาน "โครงการการพัฒนากำลังคนด้านการวิจัยของประเทศ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง"
รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล ได้แก่
1) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลงาน "โครงการพัฒนาระบบนิเวศวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่"
2) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลงาน "โครงการการสร้างกำลังคนด้านเกษตร อาหาร และสิ่งแวดล้อม"
ด้านที่ 2 การวิจัยที่มีคุณภาพระดับสากลและสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้
รางวัลดีเด่น มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผลงาน "การวิจัยที่มีคุณภาพระดับสากลและสามารถแข่งขันในระดับนานาชาติได้"
รางวัลชมเชย จำนวน 1 รางวัล ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลงาน "โครงการพัฒนาระบบนิเวศวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่"
ด้านที่ 3 การสร้างและพัฒนาระบบนิเวศด้านการวิจัย
รางวัลดีเด่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลงาน "โครงการพัฒนาระบบนิเวศวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่"
รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล ได้แก่
1) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผลงาน "ระบบสนับสนุนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์และสร้างผลกระทบสูง"
2)มหาวิทยาลัยนเรศวร ผลงาน "สถานวิจัยเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (COSNAT) มหาวิทยาลัยนเรศวร"